วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการเขียน รหัสเทียม(ซูโดโค้ด) และผังงาน

ตัวอย่างการเขียน
รหัสเทียมและผังงา
1.) ซูโดโค้ด (Pseudocodes)
ซูโดโค้ด เป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง หรืออาจใช้ภาษาไทยก็ได้แต่ควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่างๆ ให้กับโปรแกรมได้ง่ายขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคำที่ใช้มักเป็นคำเฉพาะ (Reseved Word) ที่มีอยู่ในภาษาการเขียนโปรแกรมและมักจะเขียนด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ซูโดโค้ดที่ดีจะต้องมีความชัดเจน สั้น และได้ใจความ ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้จะถูกเขียนอยู่ในรูปแบบของตัวแปร ซูโดโค้ดนี้บางครั้งจะเรียกว่า อัลกอริทึม รูปแบบทั่วไปจะเป็นดังนี้

รูปแบบ
         Algorithm <ชื่อของอัลกอริทึม>
         1. ..........................................................
         2. ..........................................................
         ..............................................................
         ..............................................................
         END

ตัวอย่างเช่นในการเขียนซูโดโค้ดสำหรับให้คอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ยจากข้อมูลที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์อาจเขียนได้ดังนี้


Algorithm  การหาค่าเฉลี่ย

1. ตัวนับ = 0
2. ผลรวม = 0
3. รับค่าทางแป้นพิมพ์เก็บไว้ใน (ข้อมูล)
4. ถ้าข้อมูลมากกว่า 0
         เพิ่มค่าตัวนับขึ้นหนึ่งค่า
         ผลรวม = ผลรวม + ค่าข้อมูล
         ย้อนกลับไปทำขั้นตอนที่ 3
         ถ้าไม่มากกว่าไปทำขั้นตอนที่ 5
5. ค่าเฉลี่ย = ผลรวมหารด้วยตัวนับ
6. แสดงค่าเฉลี่ยทางจอภาพ โดยมีทศนิยมสองตำแหน่ง
7. จบ

         จะเห็นว่าขั้นตอนการหาค่าเฉลี่ยได้เขียนไว้อย่างเข้าใจ เราสามารถทราบได้ว่าในการทำงานต่างๆ จะต้องใช้ตัวแปรใดบ้าง แต่ละขั้นตอนมีการประมวลผลอย่างไร แต่โดยทั่วไปแล้วซูโดโค้ดจะถูกเขียนด้วยภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้

รูปแบบ
         Algorithm Avarage_Sum
1. count = 0
2. sum =0
3. INPUT (value)
4. IF value > 0 THEN
        count = count+1
        sum = sum+ value
        GOTO 3
    ELSE GOTO 5
5. avarage = sum/count
6. OUTPUT (avarage)
7. END
_________________________________________________

2.) ผังงาน (Flowchart)
   ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท
1. ผังงานระบบ (System Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย

2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของผังงาน
1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)
2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)
3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)
4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)
5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)

วิธีการเขียนผังงานที่ดี

ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย
ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า ออก
ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม 


รูปแบบการเขียนผังงาน
การเขียนผังงานมี 3 รูปแบบ  คือ
1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) : รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์

2.  การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection) : การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว

3. การทำซ้ำ(Repeation or Loop) : การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
การเขียน Flowchart

อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้จัก  คือ Algorithm (และต้องเขียนให้เป็นเพราะต้องใช้ตลอด ข้อสอบ Final ของ Intro ก็ประมาณนี้นะมีเขียน Flowchart)
Algorithm  คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและ ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร เช่น เวลาเราจะเดินทางไปโรงเรียน(เปรียบเสมือนปัญหา คือต้องการไปโรงเรียน) ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อจะไปถึงโรงเรียน(ผลลัพธ์ ที่ต้องการ)  ยกตัวอย่าง

วิธีที่ 1

1.นั่งรถวินมอเตอร์ไซค์ไปปากซอย
2.นั่งรถสองแถวไปเคหะบางพลี
3.ถึงโรงเรียน

วิธีที่ 2

1.เดินจากบ้านไปปากซอย
2.นั่งรถเมล์ไปโรงเรียน
3.ถึงโรงเรียน

วิธีที่ 3

1.นั่ง Taxi ไปโรงเรียน
2.ถึงโรงเรียน

จะสังเกตได้ว่า ใน 1 ปัญหา มีวิธีแก้ไขหลายวิธี แต่ละคนอาจจะคิดวิธีแก้ไขปัญหา(Algorithm) แตกต่างกันออกไป (จากตัวอย่างบางคนอาจจะอาศัยรถคนอื่นไปก็ได้จริงมั้ยค่ะ) เมื่อเรารู้จัก Algorithm แล้ว เราก็เอา Algorithm ที่เราคิดได้ ไปเขียนเป็น Flowchart (ตามลำดับขั้นตอนของ Algorithm)
สัญลักษณ์ผังงาน

การเขียนผังงานจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้




_________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น